รัฐธรรมนูญฉบับนี้ถูกวิจารณ์ว่าเป็นการสืบทอดอำนาจของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เนื่องจากกำหนดให้สมาชิกวุฒิสภาไทย ชุดที่ 12 จำนวน 250 คน ที่ทำหน้าที่ในช่วง 5 ปีแรก มาจากการแต่งตั้งหรือคัดเลือกโดย คสช. ทั้งหมด ทำให้ถูกมองว่าองค์กรอิสระถูกควบคุมโดย คสช. ในทางอ้อม นอกจากนี้ การรณรงค์ให้ความรู้และให้ลงมติคัดค้านร่างรัฐธรรมนูญถูกปิดกั้น และคำถามพ่วงในประชามติมีความซับซ้อนเข้าใจยาก ซึ่งมีผลให้สมาชิกวุฒิสภามีอำนาจร่วมลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีได้เช่นเดียวกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ส่วนเนื้อหาอื่น เช่น การแก้ไขให้ “สิทธิ” หลายประการของประชาชนกลายเป็น “หน้าที่” ของรัฐ ตลอดจนบทเฉพาะกาลที่รับรองบรรดาประกาศและคำสั่งของ คสช. ในวันที่ 27 กันยายน 2563 ผู้นำประเทศได้กล่าวว่า การชุมนุมจะสร้างความวุ่นวายในประเทศและทำลายสมาธิในการทำงานของภาครัฐ ในการจัดการกับสถานการณ์โรคระบาด ปัญหาเศรษฐกิจหรือปากท้องของประชาชน นี่คือตัวอย่างคำพูดของผู้นำประเทศ แสดงให้เห็นว่า รัฐบาลชุดนี้เป็นผลผลิตของระบบที่มีปัญหา หากเรากลับไปหถึงต้นตอที่ก่อปัญหาก็คือ รธน. นั่นเอง จึงจำเป็นที่จะต้องแก้ไข รธน. วิเคราะห์การเมืองไทยในปัจจุบัน ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์. “รัฐประหารครั้งแรก 1 เมษายน 2476 เผด็จการยุคแรกแบบ “Monocracy” […]